ความเป็นมาของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลอง

แม่น้ำแม่กลองเป็นแหล่งน้ำที่มีความสำคัญต่อการเพาะปลูก และอุปโภคของราษฏรซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตลุ่มน้ำเป็นอย่างมาก สภาพภูมิอากาศในบริเวณลุ่มน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ก่อให้เกิดความไม่แน่นอนของปริมาณน้ำ บางปีหลากล้นท่วมบ้านช่องไร่นาของราษฏรเสียหาย บางปีก็ขาดแคลนจนทำให้ชาวไร่ชาวนาเดีอดร้อนเช่นกัน สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในบริเวณลุ่มน้ำแม่กลองก็คือ มีปริมาณน้ำหลากจำนวนมากจากตอนบนในช่วงฝนตกชุก อัตราการไหลของน้ำในแม่น้ำแม่กลองที่อำเภอท่าม่วงสูงสุดถึง 3100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆประกอบ เช่น น้ำหนุนจากแม่น้ำนครชัยศรี และแม่น้ำสองพี่น้อง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก รวมทั้งน้ำท่าที่ไหลบ่ามาจากภูเขาทางทิศตะวันตกของลุ่มน้ำแม่กลอง และบางครั้งยังมีอิทธิพลจากการขึ้นลงของน้ำทะเลอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2506 รัฐบาลได้วางแผนพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลองขึ้น เพื่อดำเนินการจัดหาน้ำให้เพียงพอแก่ความต้องการของราษฎรในท้องถิ่น โดยกำหนดแผนไว้ 4 ระยะ ดังนี้

แผนดังกล่าวนี้ ต่อมาได้กลายเป็นแผนหลักในการพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำแม่กลองในปัจจุบัน และรวมถึงการพัฒนาต่อเนื่องในอนาคตด้วย

การพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลองได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน มีการก่อสร้างเขื่อนเอนกประสงค์ขึ้นหลายแห่ง ได้แก่ เขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนท่าทุ่งนา และเขื่อนเขาแหลม นับได้ว่าการพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำแม่กลองได้ดำเนินมาถึงแผนระยะที่ 3 ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้

ส่วนแผนระยะที่ 4 ได้แก่ โครงการก่อสร้างเขื่อนน้ำโจนบนลำน้ำแควใหญ่ ขณะนี้รัฐบาลได้สั่งระงับโครงการ เนื่องจากมีการโต้แย้งว่า การก่อสร้างเขื่อนแห่งนี้จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลองโดยกรมชลประทาน

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลองโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

โครงการชลประทานแม่กลองใหญ่

ข้อมูลทั่วไป

เขื่อน

แม่น้ำ

แผนงานพัฒนา

การใช้ดินและน้ำ

โครงการแม่กลองใหญ่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

mailto:fengcrk@ku.ac.th