เขื่อนศรีนครินทร์เป็นเขื่อนเอนกประสงค์แห่งแรกในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลอง ก่อสร้างบนแม่น้ำแควใหญ่บริเวณบ้านเจ้าเณร ตำบลท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการชลประทาน การผลิตกระแสไฟฟ้า การบรรเทาอุทกภัย การประมง ตลอดจนช่วยพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของราษฎร และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง
เขื่อนศรีนครินทร์ เดิมเรียกว่าโครงการเขื่อนบ้านเจ้าเณร เป็นเขื่อนเก็บกักน้ำบนลำน้ำแควใหญ่ ตามแผนพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลองระยะที่ 2 เนื่องจากเป็นเขื่อนเอนกประสงค์เพื่อพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำด้วย รัฐบาลจึงมอบหมายให้ กฟผ. ดำเนินการก่อสร้าง
กฟผ. ได้ศึกษาและสำรวจความเหมาะสมของโครงการและออกแบบก่อสร้างระหว่างปี พ.ศ.2508-2515 การก่อสร้างเริ่มเมื่อ พ.ศ.2516 แล้วเสร็จใน พ.ศ.2523 ได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยสนเด็จพระศรีนครินทรราบรมราชชนนีมาขนานนามเขื่อน เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2520 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2524
เขื่อนศรีนครินทร์เป็นเขื่อนประเภทหินทิ้งแกนดินเหนียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สูง 140 เมตร สันเขื่อนยาว 610 เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 419 ตารางกิโลเมตร ความจุ 17,745 ล้านลูกบาศก์เมตร ระดับเก็บกักสูงสุดปรกติ 180 เมตร ปริมาณน้ำใช้งาน 7,470 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 4,457 ล้านลูกบาศก์เมตร
บทนำ
|
ข้อมูลทั่วไป
เขื่อน
แม่น้ำ
แผนงานพัฒนา
การใช้ดินและน้ำ